สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

ประกวดจักรยานตามโครงการประกวดออกแบบและจัดทำต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

visibility 3,765

โครงการประกวดออกแบบและจัดทำต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว มีขอบเขตงาน ครอบคลุม 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การใช้งาน(Function) เรื่องราว(Story) และการออกแบบ(Design) โดยผู้ที่ผ่าน เข้ารอบชิงชนะเลิศจะต้องพัฒนาตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการทั้งในด้านแนวคิด(Concept) การผลิตตัวต้นแบบ กระทั่งการนำมาใช้งานจริง(Viability) ซึ่งทั้งหมดต้องสอดคล้องกับการประกวดทั้ง 2 ประเภท คือ

4.1 ประเภทอนุรักษ์เน้นออกแบบโดยคงไว้ซึ่งรูปลักษณ์ของจักรยานสามล้อถีบดั้งเดิมของเชียงใหม่ แต่พัฒนาระบบการใช้งานให้สะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขอบเขตงานดังนี้

4.1.1 การใช้งาน (Function) ใช้เป็นยานพาหนะรับส่งผู้โดยสารเหมือนจักรยานสามล้อ ถีบแบบดั้งเดิม คือใช้แรงคนปั่น ไม่มีการตัดทอนคุณสมบัติด้านการใช้งาน แต่ เพิ่มเติมระบบให้มีความสะดวกสบาย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มีไฟ เลี้ยว มีเกียร์ทดแรง มีโครงกันกระแทก รับน้ำหนักได้150 กิโลกรัม ฯลฯ

4.1.2 เรื่องราว (Story) แนวคิดในการออกแบบสะท้อนเรื่องราวความเป็นไทยในด้าน ต่างๆ อาทิ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนาหรือ ศิลปวัฒนธรรม โดยไม่มีเนื้อหาที่สร้างความขัดแย้งสังคม หรือหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม

4.1.3 การออกแบบ (Design) ต้องคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของจักรยานสามล้อถีบของ เชียงใหม่ รองรับผู้โดยสารได้ทุกประเภท สะดวกและปลอดภัย สามารถรองรับภาระ น้ำหนัก 150 กิโลกรัม ภาระน้ำหนักทดสอบที่ 250 กิโลกรัมและมีค่า Safety factor ไม่ต่ำกว่า 3.0 แต่ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุเหมือนจักรยานสามล้อถีบแบบดั้งเดิม

4.1.4 วงเงินงบประมาณจัดทำต้นแบบ ใช้งบประมาณสนับสนุน 125,000 บาทในการ ดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ผลผลิตเป็นจักรยานสามล้อถีบ 1 คัน จัดแสดงในนิทรรศการ โดยมีการแสดงรายละเอียดต้นทุนการผลิต

4.1.5 ระยะเวลาดำเนินการ ให้ผลิตและส่งมอบจักรยานโดยสารต้นแบบที่สำนักงาน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2559

4.2 ประเภทสร้างสรรค์ เน้นความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ไม่จำกัดรูปลักษณ์ หรือจำนวนล้อ แต่ต้องสามารถพิสูจน์การรับน้ำหนักได้

4.2.1 การใช้งาน (Function) ใช้เป็นจักรยานโดยสารที่สะดวกสบาย ปลอดภัย สามารถ ใช้งานในพื้นที่ชุมชน ตรอก ซอกซอยได้อย่างคล่องตัว รองรับผู้โดยสารที่มีสรีระ ต่างกันได้ทุกกรณี ขับเคลื่อนโดยใช้แรงคนปั่น หรือใช้พลังงานไฟฟ้ามาเสริมแรงปั่น มีสัญญาณไฟจราจรครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้

4.2.2 เรื่องราว (Story) ผลงานจะต้องมีแนวคิดในการสร้างสรรค์และที่มาที่ไปซึ่งน่าสนใจ โดยไม่มีเนื้อหาที่อาจสร้างความขัดแย้งทางสังคม หรือหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม

4.2.3 การออกแบบ (Design) สามารถออกแบบได้อย่างอิสระ โดยให้ระบุวัสดุที่ใช้และ แสดงรายการคำนวณทางวิศวกรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจักรยานสามารถรับภาระ น้ำหนักบรรทุกได้สูงสุด 250 กิโลกรัมโดยไม่เกิดความเสียหาย มีค่า Safety factor ไม่ต่ำกว่า 3.0 และห้องโดยสารมีความกว้างเพียงพอให้ผู้โดยสารสองคนนั่งได้อย่าง สะดวกสบาย

4.2.4 วงเงินงบประมาณสนับสนุนจัดทำต้นแบบ ใช้งบประมาณสูงสุด 125,000 บาทใน การดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ผลผลิตเป็นจักรยานโดยสาร 1 คัน จัดแสดงในนิทรรศการ โดยมีรายละเอียดต้นทุนการผลิต

4.2.5 ระยะเวลาดำเนินการ เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับการจัดทำต้นแบบ จักรยานโดยสาร ต้องดำเนินการผลิตตามแบบให้เสร็จสมบูรณ์และนำจักรยาน โดยสารต้นแบบมาส่งที่สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2559

  1. คุณสมบัติผู้ประกวดแบบฯ เป็นบุคคลทั่วไปแบบเดี่ยวหรือเป็นทีม (ทีมละไม่เกิน 3 คน) โดยผู้ประกวดแบบจะต้องพัฒนาแบบ จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวที่คิดค้นขึ้นมาให้กลายเป็นตัวต้นแบบที่ใช้งานได้จริง และสามารถเข้าร่วม กิจกรรมการประกวดได้ทุกครั้ง พร้อมทั้งนำต้นแบบมาส่งที่สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2559
  2. ผลงานและเอกสารประกอบการส่งประกวดแบบ ให้จัดส่งเอกสารการประกวดแบบฯ ได้ด้วยตัวเองหรือส่งมาทางไปรษณีย์ที่ คุณธนพนธ์ เอื้อตระกูล สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี(งานอนุรักษ์และวิจัย ฝ่ายบริหารจัดการสัตว์) 33 ม.12 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 โทร 053-999-003 ตามเวลาราชการ หรือส่งมาที่email: helinoid@gmail.com (กรณีที่ ส่งทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นหลัก การป้องกันความเสียหายของผลงานถือเป็นความ รับผิดชอบของผู้ส่งผลงานประกวดแบบ) โดยมีข้อกำหนดดังนี้

6.1 ผลงานประกวดแบบฯ รอบแรก (Conceptual design) ส่งได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2559 ประกอบด้วย

6.1.1 เอกสารหลักฐานของผู้ประกวดแบบฯ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด

6.1.2 เอกสารระบุชื่อทีมและประเภทการประกวดแบบฯ (อนุรักษ์/สร้างสรรค์)

6.1.3 งานออกแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวประกอบด้วยภาพด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านใน ด้านเฉียง ภาพตัดขวาง ภาพตัดตามยาว ภาพ ทัศนียภาพ(Perspective) และภาพรายละเอียดของอุปกรณ์เสริม โดยบอกขนาดเป็น เซนติเมตร และแสดงรายละเอียดของแต่ละส่วนให้ชัดเจน ไม่จำกัดเทคนิคในการสร้าง ภาพ โดยแสดงอยู่ในกระดาษA2 จำนวนหนึ่งหน้า

6.1.4 ระบุคุณสมบัติในการใช้งาน (Function) ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 6.1.5 ระบุเรื่องราว (Story) ตามเงื่อนไขของประเภทการประกวดแบบฯที่สมัคร ซึ่งรวมถึง แนวคิดในการออกแบบ (Design) ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษA4 6.1.6 ระบุงบประมาณที่ใช้ผลิตต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

6.2 ผลงานประกวดแบบฯ รอบชิงชนะเลิศ ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกทั้ง 10 ราย ต้องดำเนินการ ผลิตจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวตามแบบที่ส่งประกวด พร้อมทั้งนำมาจัดแสดงนิทรรศการ ในวันตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วย

6.2.1 จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวตามแบบที่ส่งประกวด พร้อมใช้งาน จำนวน 1 คัน

6.2.2 ข้อมูลการใช้งาน(Function) เรื่องราว(Story) และการออกแบบ (Design) พร้อม ภาพประกอบต้นแบบจักรยานโดยสารในรูปของป้ายประชาสัมพันธ์ X-stand ขนาด 80 * 180 cm จำนวน 3 ป้าย และข้อมูลทีมผู้ประกวดแบบฯ อีก 1 ป้าย ระบุชื่อทีม ชื่อต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว อาชีพ และข้อมูลติดต่อ

6.2.3 เอกสารขนาด A4 ให้คณะกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ 10 ชุด ประกอบด้วย · งานออกแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวประกอบด้วยภาพด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านใน ด้านเฉียง ภาพตัดขวาง ภาพตัด ตามยาว ทัศนียภาพ(Perspective) และภาพรายละเอียดของอุปกรณ์เสริม โดยบอกขนาดเป็นเซนติเมตร และแสดงรายละเอียดของแต่ละส่วนให้ชัดเจน · เรื่องราว (Story) ตามเงื่อนไขของประเภทการประกวดแบบฯที่สมัคร รวมถึง แนวคิดในการออกแบบ (Design) ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 · ค่าใช้จ่ายในการผลิตต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างละเอียด

6.2.4 ไฟล์Power point น าเสนอผลงานเพื่อการตัดสินรอบชิงชนะเลิศให้ครอบคลุมตาม รายละเอียดในข้อ

6.2.3 เวลานำเสนอไม่เกิน 15 นาที หากใช้โปรแกรมนำเสนออื่น นอกเหนือจากนี้ ให้นำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ (สายVGA) มาเอง

  1. การน าเสนอผลงานการออกแบบ ให้ผู้ประกวดที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 ราย นำเสนอรายละเอียดผลงานต่อคณะกรรมการตัดสินและ ประชาชนที่สนใจเข้ามาชมนิทรรศการด้วยโปรแกรมตามรายละเอียดข้อ 6.2.4 โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที
  2. หลักเกณฑ์การตัดสิน การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 2 รอบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 8.1 ประเภทอนุรักษ์ แบ่งการประกวดเป็น 2 รอบ ดังนี้

8.1.1 การประกวดรอบแรก พิจารณาจากแบบที่ส่งเข้าประกวด รวม 100 คะแนน แบ่งเป็น I. การใช้งาน (Function) แสดงให้เห็นว่ารถจักรยานโดยสารต้นแบบ สามารถ ใช้เป็นรถจักรยานโดยสารที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ใช้งานในพื้นที่ชุมชน ตรอก ซอกซอยได้อย่างเหมาะสม รองรับผู้โดยสารที่มีสรีระต่างกันได้ทุกกรณี ขับเคลื่อนโดยใช้แรงคนปั่น หรือใช้พลังงานไฟฟ้ามาเสริมแรงปั่น มีสัญญาณ ไฟจราจรครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้(30 คะแนน) II. เรื่องราว (Story) แสดงให้เห็นแนวคิดในการออกแบบ (Conceptual idea) ที่สะท้อนเรื่องราวความเป็นไทยในด้านต่างๆ อาทิ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น พระพุทธศาสนาหรือศิลปวัฒนธรรม โดยไม่มี เนื้อหาที่อาจสร้างความขัดแย้งสังคม หรือหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม (20 คะแนน) III. การออกแบบ (Design) แสดงให้เห็นว่าการออกแบบได้คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ดั้งเดิมของจักรยานสามล้อถีบของเชียงใหม่ โดยแบ่งการให้คะแนน ดังนี้ · สะดวก ปลอดภัย เหมาะสมแก่การใช้งานจริง (20 คะแนน) · สะท้อนความเป็นเชียงใหม่ที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ (10 คะแนน) · งานออกแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ต้องประกอบด้วย ภาพด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านใน ด้าน เฉียง ภาพตัดขวาง ภาพตัดตามยาว ทัศนียภาพ(Perspective) และภาพรายละเอียดของอุปกรณ์เสริม โดยบอกขนาดเป็น เซนติเมตร และแสดงรายละเอียดของแต่ละส่วนให้ชัดเจน รวมถึง แสดงการคำนวณภาระการรับน้ำหนัก (20 คะแนน)

8.1.2 การประกวดรอบชิงชนะเลิศ พิจารณาจากผลงานและการนำเสนอ โดยเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 และ คณะกรรมการตัดสินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 รวม 100 คะแนน แบ่งเป็น I. การใช้งานจริง (Real life using) รถต้นแบบสามารถใช้รับส่งผู้โดยสารได้ จริงเช่นเดียวกับรถจักรยานสามล้อถีบแบบดั้งเดิม แบ่งคะแนนดังนี้ · ความสะดวกสบายในการใช้งานของผู้โดยสาร (20 คะแนน) · ความสะดวกสบายในการใช้งานของผู้ขับขี่ (20 คะแนน) · ความแข็งแรงทนทานของวัสดุอุปกรณ์ (10 คะแนน) · ระบบความปลอดภัยโดยรวม (10 คะแนน) · ความเหมาะสมแก่การใช้งานจริง (10 คะแนน) II. การออกแบบ (Design) แบ่งคะแนนดังนี้ · การคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของจักรยานสามล้อถีบของเชียงใหม่ (10 คะแนน) · ความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์(10 คะแนน) III. การนำเสนอ (Presentation) น าเสนอครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด กระชับ ชัดเจน และตรงต่อเวลา (10 คะแนน)

8.2 ประเภทสร้างสรรค์ แบ่งการประกวดเป็น 2 รอบ ดังนี้

8.2.1 การประกวดรอบแรก พิจารณาจากแบบที่ส่งประกวด รวม 100 คะแนน แบ่งเป็น I. การใช้งาน (Function) แสดงให้เห็นว่ารถต้นแบบฯ สามารถใช้เป็น จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ขับเคลื่อนโดย ใช้แรงคนปั่นหรือใช้พลังงานไฟฟ้าเสริมแรงปั่นเท่านั้น มีสัญญาณไฟจราจร ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้(30 คะแนน) II. เรื่องราว (Story) แสดงให้เห็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน และที่มาที่ ไปซึ่งต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูดให้ใช้บริการ และไม่มีเนื้อหาที่อาจสร้าง ความขัดแย้งทางสังคม หรือหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม (30 คะแนน) III. การออกแบบ (Design) แบ่งคะแนน ดังนี้ · Universal design รองรับผู้โดยสารได้ทุกคน (10 คะแนน) · สะดวก ปลอดภัย เหมาะแก่การใช้งานจริง (10 คะแนน) · มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ เป็นเอกลักษณ์ (10 คะแนน) · มีภาพต้นแบบจักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวครบทุกมิติ ได้แก่ ภาพด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน ด้านใน ด้าน เฉียง ภาพตัดขวาง ภาพตัดตามยาว ทัศนียภาพ(Perspective) และภาพรายละเอียดของอุปกรณ์เสริม โดยบอกขนาดเป็น เซนติเมตร และแสดงรายละเอียดของแต่ละส่วนให้ชัดเจน รวมถึง แสดงการคำนวณภาระการรับน้ำหนัก (10 คะแนน)

8.2.2 การประกวดรอบชิงชนะเลิศ พิจารณาจากผลงานและการนำเสนอ โดยเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 และ กรรมการตัดสินให้คะแนนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 รวม 100 คะแนน แบ่งเป็น I. การใช้งานจริง (Real life using) รถต้นแบบฯ สามารถใช้รับส่งผู้โดยสาร ได้จริง แบ่งคะแนนดังนี้ · ความสะดวกสบายในการใช้งานของผู้โดยสาร (10 คะแนน) · ความสะดวกสบายในการใช้งานของผู้ขับขี่ (20 คะแนน) · ความแข็งแรงทนทานของวัสดุอุปกรณ์ (10 คะแนน) · ระบบความปลอดภัยโดยรวม (10 คะแนน) · ความเหมาะสมแก่การใช้งานจริงในพื้นที่แออัด (10 คะแนน) II. การออกแบบ (Design) แบ่งคะแนนดังนี้ · ความสร้างสรรค์ แปลกใหม่และเป็นเอกลักษณ์(10 คะแนน) · รูปลักษณ์เป็นมิตร(Friendly design) ดึงดูดให้ใช้(10 คะแนน) · ออกแบบได้สอดคล้องกับสภาพถนนและภูมิอากาศของประเทศ ไทย โดยเฉพาะเวลาที่อากาศร้อนหรือมีฝนตกหนัก (10 คะแนน) III. การนำเสนอ (Presentation) นำเสนอได้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด กระชับ ชัดเจนและตรงต่อเวลา (10 คะแนน)



  • สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
    33 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230